แบบรายงานผลการจัดการเรียนรู้ ประจำปีการศึกษา 2556
ประเด็นความรู้ : การจัดความรู้ (KM)
หัวข้อการจัดการความรู้ : การตั้งชื่อหัวข้อ “การใช้คำถามเป็นฐาน” (Question-Based Learning)
ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ : (ดังบัญชีรายชื่อแนบ)
วัน เดือน ปี ที่ดำเนินการ : 21-22 พฤศจิกายน 2556
สรุปองค์ความรู้ที่ได้ :
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน
(Question-Based Learning)
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มีนโยบายจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้นักศึกษาคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ฝึกให้นักศึกษาตั้งคำถามเป็น ทำไม อย่างไร เพื่อความสนใจในการเรียน และหาคำตอบด้วยตนเอง กระบวนการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน (Question-Based Learning : QBL) เป็นขั้นตอนที่จะปลูกฝังให้ผู้เรียนเข้าถึงศาสตร์ต่างๆ ด้วยคำถาม โดยผู้สอนนำเทคนิคของ PBL (Problem-Based Learning) เสริมสร้างทักษะในการแก้ปัญหาและการใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล (บทความของพรพิสุทธิ์ มงคลวนิช) จะทำให้ผู้เรียนมีภาวะผู้นำทางความคิดและการแก้ปัญหาเมื่อสำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การถามจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ โดยกระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด ทำความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่างๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย โดยบทบาทผู้เรียน จะเรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและการหาคำตอบด้วยตนเอง
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน
1.ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
3.ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
4. ขั้นสรุปและประเมินผล
4.1การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนให้นักศึกษาเข้าใจและตอบคำถามได้ ให้บรรลุผลการเรียนรู้
4.2การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน
1.ทำบรรยากาศให้ดี เป็นมิตร และปลอดภัย
-
ระวังบรรยากาศคุกคาม
-
เริ่มต้นการสอน บอกวิธีการสอน อาจารย์จะใช้การสอนแบบใช้คำถามเพื่อให้ตอบ โดยให้เกียรติผู้เรียน เรียกชื่อนักศึกษาเพื่อสร้างความประทับใจให้นักศึกษาตั้งใจเรียน
-
ใช้ ASA (Attentive, Smile, Acknowledge) = มองหน้าตั้งใจฟัง ยิ้มน้อยๆ ชมเมื่อตอบถูก (เก่งมากค่ะ ดีมากค่ะ เห็นด้วยค่ะ)
-
เมื่อตอบผิด - ทำไมคิดอย่างนั้น แก้ concept ที่ถูกต้อง เพื่อให้นักศึกษาคิดใหม่ หาคำตอบที่ดีกว่าและให้กำลังใจสำหรับคำถามคำตอบต่อไป
-ให้ความเข้าใจว่า คำตอบไม่เคยมีคำตอบเดียว อาจมีมากกว่า 1 คำตอบ
-ให้คิดว่า ตอบผิด ดีกว่า ไม่ตอบ
2.เลือกคำถามที่ดีที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
-
เลือกคำถามปลายเปิด เช่น ทำไม อย่างไร เพราะเหตุใด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง
-
แนะแนวการคิด guide โดยใช้คำถามที่นักศึกษาจะต้องนำความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge) มาประยุกต์
3. ใช้เทคนิคให้ดี
-
ถามชัดเจน ไม่กำกวม
-
เลือกคำถามกว้างๆ ปลายเปิด ---ทำอย่างไร
-
ถามทีละ 1 คำถาม อย่าถามเป็นชุด
-
ให้เวลาคิด 10 วินาที
-
เทคนิค Pose – Pause – Pounce ตั้งคำถาม---- รอคำตอบ ---- ถ้าไม่ตอบ ถามระบุคน
คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง
-
คำถาม ใช่ ไม่ใช่
-
คำถามกำกวม
-
คำถามให้เดา
-
คำถามชี้นำ
วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครติก (Socratic Method)
-
เป็นวิธีสอนของนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อโซเครติส วิธีสอนแบบนี้ใช้การตั้งคำถามให้นักเรียนคิดหาคำตอบหรือตอบปัญหาด้วยตนเอง โดยครูจะกระตุ้นให้นักเรียนนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่เคยเรียนแล้ว
-
คำถามของครูจะเป็นแนวทางให้นักเรียนคิดค้นหาความรู้ นักเรียนจะเรียนด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง และเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาให้ทุกคนรู้จักแสดงความคิดเห็น อภิปรายแล้วสรุปความคิดเห็นลงในแนวเดียวกัน วิธีสอนแบบนี้เหมาะสำหรับนักเรียนที่ชอบใช้ความคิดค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งต่างๆ
Socratic questioning มี 6 แบบ
1. Tell me more: ขอความกระจ่าง
2. Probe assumption: ขอข้อสรุป
3. Reason ขอเหตุผล
4. View point & Perspectives ถามมุมมองแง่อื่นและแนวคิด
5. Implication & Consequence การนำไปใช้และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น
6. คำถามที่ทำให้เกิดทักษะการคิด เป็นคำถามขั้นสูง
ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน
1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4. ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5. ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6. ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต
อ้างอิง
วันดี โตสุขศรี.Clinical Teaching: Questioning (การใช้คำถามในการสอน).คณะพยาบาลศาสตร์ ภาค
วิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2553.
เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์.การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method).
[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/khunkrunong/n12 [สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม
2557]
พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช.นโยบายการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คำถามเป็นฐาน (Question-Based Learning :
QBL) อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 2557.